ศูนย์จำหน่าย ยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ ราคาส่ง สำหรับร้านยา-คลินิก จัดส่งทั่วประเทศ

ทานยาฆ่าเชื้อแล้วท้องเสีย… เป็นไปได้หรือไม่

12 มีนาคม 2024
ทานยาฆ่าเชื้อแล้วท้องเสีย… เป็นไปได้หรือไม่

 

???? ทานยาฆ่าเชื้อแล้วท้องเสีย… เป็นไปได้หรือไม่?????????

 

คำตอบคือ เป็นไปได้ค่ะ พบประมาณ 5-25% ในผู้ที่ทานยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ????

เนื่องจากว่าขณะที่เราทานยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียนั้น เชื้อแบคทีเรียดีซึ่งปกติพบอยู่ในสำไส้ใหญ่ถูกทำลายโดยยาปฏิชีวนะไปด้วย ทำให้ปริมาณเชื้อแบคทีเรียดีลดลง ลำไส้จึงไม่สามารถดูดซึมคาร์โบไฮเดรตจึงเกิดการท้องเสียแบบ Osmotic หรือไม่สามารถย่อยสลายน้ำดีได้ ทำให้กระตุ้นการหลั่งสารน้ำในลำไส้มากขึ้นและทำให้ท้องเสียนั่นเอง ❗หรือเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียอื่นซ้ำซ้อนที่เป็นสาเหตุของอาการท้องเสียและลำไส้อักเสบ เชื้อที่มักเป็นสาเหตุ ได้แก่ Clostridium difficile ซึ่งจำเป็นต้องรับยาปฏิชีวนะเพื่อรักษา ❗????
นอกจากกลไกนี้แล้ว ยาปฏิชีวนะบางตัวมีผลเพิ่มการบีบตัวของลำไส้โดยตรงได้ด้วย จึงทำให้ท้องเสียตามมา❗ เช่น ยา Erythromycin, Clavulanate
???? อาการ
⚠️ อาการไม่รุนแรง จะมีอาการท้องเสียหรือถ่ายเป็นน้ำอย่างน้อย 3 ครั้งภายใน 24 ชั่วโมง
⚠️ อาการรุนแรง จะมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ได้แก่ มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ มีเลือดปนในอุจจาระ ปวดท้อง
โดยเกิดได้ตั้งแต่ช่วงต้นของการได้รับยาจนถึงภายหลังจากหยุดยาไปแล้ว 2 เดือน
???? ปัจจัยเสี่ยง ????
???? ขึ้นอยู่กับชนิดของยาปฏิชีวนะที่ได้รับ โดยเฉพาะที่ออกฤทธิ์กว้าง
???? มีอายุมากกว่า 65 ปี
???? ผู้ป่วยที่มีประวัตินอนโรงพยาบาลในหอผู้ป่วยวิกฤติ หรือนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลนานมากกว่า 4 สัปดาห์
???? ผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
???? ผู้ได้รับยากดภูมิคุ้มกันหรือยาเคมีบำบัด
???? ผู้ที่ใส่สายยางให้อาหารทางจมูกหรือได้รับการทำหัตถการของระบบทางเดินอาหาร
???? ผู้ที่มีประวัติเคยติดเชื้อ Clostridium difficile
???? ผู้ที่มีประวัติใช้ยาลดกรด ได้แก่ ยากลุ่ม PPI เช่น Omeprazole, H2RA เช่น Famotidine
???? ยาปฏิชีวนะใดบ้างที่พบว่ามีอุบัติการณ์บ่อย
ได้แก่ Amoxycillin, Amoxycillin/Clavulanate, Ampicillin, กลุ่ม Cephalosporin ที่พบบ่อยได้แก่ Cefixime นอกจากนี้ยาอื่นที่พบรองลงมา ได้แก่ Clindamycin, กลุ่ม Fluoroquinolones, กลุ่ม Macrolides, Tetracycline
???? การรักษา
✅ จิบเกลือแร่เบื้องต้นเพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำและเกลือแร่จากอาการท้องเสีย และปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อประเมินการรักษาที่เหมาะสมต่อไป ไม่ควรหยุดทานยาเอง
✅ ส่วนใหญ่มักดีขึ้นและหายได้เองหลังหยุดการใช้ยาปฏิชีวนะ
✅ หากพบว่ามีอาการรุนแรงแนะนำรีบพบแพทย์

???? การป้องกัน

✔️ ไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะทานเอง ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง