ศูนย์จำหน่าย ยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ ราคาส่ง สำหรับร้านยา-คลินิก จัดส่งทั่วประเทศ

ความดันโลหิตสูง กินแบบไหนดี ?!

12 มีนาคม 2024
ความดันโลหิตสูง กินแบบไหนดี ?!

 
 
 
???? ความดันโลหิตสูง กินแบบไหนดี ?!
ชวนทำความรู้จักวิธีกินแบบ #DASH DIET ช่วยลดความดันโลหิตลงได้
8 ขั้นตอนในแต่ละวันถ้าทำได้ความดันโลหิตลดลง สุขภาพดีขึ้นแน่นอน ???? เพราะช่วยควบคุมโรคความดันโลหิตและป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้อีกด้วย หลักการสำคัญคือให้ลดการบริโภคอาหารที่มีโซเดียม ไขมันอิ่มตัวลง และเพิ่มการรับประทานใยอาหาร โปรตีน แคลเซียมและแร่ธาตุต่างๆ เช่น โพแทสเซียมและแมกนีเซียม
DASH DIET (Dietary Approaches to Stop Hypertension Diet) จากสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (American Heart Association) ที่ปรับให้เหมาะสมกับบริบทคนไทย ดังนี้
1. จำกัดปริมาณโซเดียมในอาหาร ⏩ ไม่เกิน 2,300 มก./วัน
โซเดียมมักอยู่ในอาหารแปรรูป เบเกอรี่ และเครื่องปรุงต่างๆ ซึ่งหากบริโภคเกินที่ร่างกายต้องการทำให้ความดันโลหิตสูงได้ ยิ่งถ้าหากทานได้น้อยกว่า 1,500 มก./วัน ได้ยิ่งดี เพราะจะช่วยลดความดันโลหิตได้ดีมากขึ้น โดยโซเดียม 2,300 มก. เทียบเท่ากับเกลือแกง 1 ช้อนชา หรือเท่ากับน้ำปลา 4 ช้อนชา หรือเท่ากับซีอิ๊วขาว 6 ช้อนชา หรือเท่ากับผงชูรส 4 ช้อนชาโดยประมาณ ⚠️ ซึ่งอย่าลืมว่าใน 1 วันเรารับประทานเมนูที่ประกอบไปด้วยเครื่องปรุงที่หลากหลาย ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงและทานให้น้อยที่สุดนะคะ ✔️ แนะนำให้ใช้รสเปรี้ยว เครื่องเทศและสมุนไพรต่างๆ ในการเสริมรสชาติอาหารให้เด่นขึ้นแทนการใช้เกลือหรือเครื่องปรุงที่มีโซเดียมสูง
2. รับประทานข้าว/ธัญพืชไม่ขัดสี ⏩ แนะนำ 6-8 ทัพพี/วัน
เลือกแบบไม่ขัดสีเช่น ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวหอมนิล ข้าวมันปู เป็นต้น เพื่อเพิ่มกากใยอาหาร ซึ่งจะช่วยลดการดูดซึมไขมันเข้าสู่กระแสเลือด จึงช่วยควบคุมไขมันในเลือด อีกทั้งใยอาหารทำให้ไม่หิวบ่อย ช่วยควบคุมน้ำหนักได้ และไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูง???? อีกทั้งยังอุดมไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุ โดยเฉพาะวิตามินบี 1 ที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคเหน็บชาได้ นอกจากนี้ยังมี วิตามินอี ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม ซีลีเนียม ฟอสฟอรัสสูงและแร่ธาตุชนิดอื่นๆ ด้วย
3. เพิ่มผักในอาหารทุกมื้อ ⏩ แนะนำ 4-5 ทัพพี/วัน ????????
ในผักมีโพแทสเซียมและแมกนีเซียมสูง ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ช่วยควบคุมความดันโลหิต และควรเลือกผักให้หลากสีและหลากชนิดเพื่อรับสารอาหารได้ครบถ้วน
4. รับประทานผลไม้ ⏩ แนะนำ 4-5 ส่วน/วัน ????
ผลไม้ 1 ส่วน เท่ากับ ผลไม้ลูกเท่ากำปั้น 1 ลูก เช่น ส้ม แอปเปิ้ล สาลี่
หรือเท่ากับ ผลไม้เป็นชิ้นคำ 6-8 คำ เช่น สับปะรด แคนตาลูป แตงโม
ผลไม้มีวิตามินและแร่ธาตุ อีกทั้งมีโพแทสเซียมและแมกนีเซียมด้วย
5. รับประทานเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ ⏩ แนะนำ 12 ช้อนโต๊ะ/วัน ????
เพื่อลดปริมาณไขมันอิ่มตัวและคอเลสตอรอลที่จะทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจมากขึ้น ส่งผลต่อการเพิ่มความดันโลหิต เลือกทานปลาทะเลน้ำลึกซึ่งมีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูง มีประโยชน์ต่อหลอดเลือด ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง อีกทั้งช่วยลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ด้วย
6. รับประทานถั่วเปลือกแข็งและถั่วเมล็ดแห้ง ⏩ แนะนำ 4-5 กำมือ/สัปดาห์
ถั่วมีแร่ธาตุโพแทสเซียมและแมกนีเซียมสูง รวมทั้งมีใยอาหารสูง ???? แต่ควรระวัง ถึงแม้ว่าไขมันจากถั่วจะเป็นไขมันดี แต่หากทานมากเกินไป อาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้
7. จำกัดไขมันในอาหาร ⏩ น้ำมันไม่เกิน 6 ช้อนต่อวัน และน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน
เน้นการปรุงด้วยวิธีที่ไม่ใช้น้ำมัน เช่น การต้ม นึ่ง อบ
หลีกเลี่ยงการทอด อาหารใส่กะทิ และเลือกใช้น้ำมันที่มีไขมันไม่อิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก เป็นต้น
8. ดื่มนมไขมันต่ำ ???? ⏩ แนะนำ 2-3 แก้ว/วัน
ควรเลือกนมรสจืดเพื่อเลี่ยงปริมาณน้ำตาลที่สูง
เพียงเท่านี้คุณก็จะมีสุขภาพที่ดีขึ้น ความดันโลหิตลดลง เมื่อสุขภาพกายดีขึ้นทำให้สุขภาพจิตดีขึ้นอีกด้วยนะคะ ????????